top of page
ค้นหา

ขอบคุณเธอนะ "วาฬที่รัก"



โดยทั่วไปเรารู้ว่าวาฬมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการหมุนเวียนแร่ธาตุในมหาสมุทร

โดยเฉพาะการหมุนเวียนในแนวตั้ง เพราะวาฬใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในทะเลลึก

แต่ที่น้ำลึกความดันจะสูง วาฬจึงต้องขึ้นมาถ่ายมูลในระดับน้ำตื้น


ขี้วาฬอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและไนโตรเจนจากใต้ทะเลลึก

จึงเท่ากับเป็นการนำแร่ธาตุสำคัญมาเติมให้แก่แพลงตอนพืช

ที่อาศัยบริเวณใกล้ผิวน้ำ


แพลงตอนพืชในทะเลทำหน้าที่เหมือนพืชบนบก

คือ ดึงเอาคาร์บอนไดอ็อกไซด์ออกจากอากาศผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง

แล้วปล่อยออกซิเจนออกมาให้กับโลก

ออกซิเจนที่แพลงตอนพืชผลิตขึ้นมีปริมาณมาก

คิดเป็นครึ่งหนึ่งของออกซิเจนทั้งหมดที่มีในชั้นบรรยากาศเลยทีเดียว

จึงไม่ผิดที่บอกว่าทุกลมหายใจที่สองที่เราสูดเข้าไป

#เราต้องขอบคุณมหาสมุทรแพลงตอนและวาฬ​


กระบวนการนี้ไม่เพียงแต่สร้างออกซิเจนเท่านั้น

ยังมีแพลงตอนสัตว์คอยกินแพลงตอนพืชอีกต่อหนึ่ง

ซึ่งเมื่อแพลงตอนสัตว์เหล่านี้ตายลง

ก็จะจมดิ่งลงสู่ก้นมหาสมุทร เป็นการดึงคาร์บอนไดออกไซด์

ออกจากชั้นบรรยากาศที่มีประสิทธิภาพมาก

ราว 1 ใน 3 ของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมา

มันจะถูกดูดซับไว้โดยมหาสมุทรด้วยกลไกนี้






วาฬจึงเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการขนานนามว่า

#วิศวกรแห่งระบบนิเวศ’ (ecosystem engineer)

เพราะวาฬมีบทบาทอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง

สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

ในระบบนิเวศ


รู้หรือไม่ ! ในปี 2562 ฉลามวาฬ ได้ถูกบรรจุเป็น สัตว์สงวนชนิดใหม่

พร้อมกับ #วาฬบรูด้า #วาฬโอมูระ #เต่ามะเฟือง

ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ร่วมกันอนุรักษ์สัตว์เหล่านี้

หากเราพบเห็น ควรปฏิบัติดังนี้

-ห้ามสัมผัส

-ห้ามใช้แฟลชถ่ายภาพ

-ห้ามโยนสิ่งของหรืออาหาร ลงในน้ำ

-ห้ามตีร้ำแรงหรือกระโดดลงน้ำ

-หากดำน้ำไม่ควรทาครีมกันแดด

-รักษาระยะห่างขั้นต่ำ 5-6เมตร


ขอขอบคุณข้อมูลจาก The 101.world

bottom of page